สฟผฟกฟ

วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อ อีโคไล (E. coli)

อุบัติการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุจจาระร่วง จากเชื้อแบคทีเรียอีโคไลในทวีปยุโรป โดยเฉพาะเยอรมัน แล้วระบาดไปยังสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประทศ จนเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ ทำให้มีประชาชนกว่าสองพันรายเจ็บป่วย อีกทั้งมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตไปแล้วถึง 24 ราย นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าพบผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโคไลอีกสายพันธุ์หนึ่งเกิด ขึ้นในประเทศญี่ปุ่นบ้างแล้ว สำหรับในประเทศไทยแล้วยังไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ที่พบใน เยอรมณีเกิดขึ้น แต่เราลองมาทำความรู้จักกับเชื้อชนิดนี้กันบ้างจะได้ระมัดระวังสุขภาพกันได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่วิตกกังวลจนเกินไป ตลอดจนสามารถรับมือกับเชื้อได้อย่างเหมาะสม
          อีโคไลมีชื่อเต็มๆว่า เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli)  เป็นเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่นที่พบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์เลือดอุ่นทั่วไป จึงตรวจพบได้จากอุจจาระในปริมาณมาก โดยปกติอีโคไลประจำถิ่นเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก่อโรค แต่อาจฉวยโอกาสก่อโรคในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ดังนั้น จึงอาจเป็นปัญหาการติดเชื้อในโรงพยาบาล ทว่า อีโคไลในลำไส้มีประโยชน์ต่อมนุษย์เพราะช่วยสร้างวิตามินเค เป็นต้น
อีโคไลชนิดก่อโรค
                อีโคไลที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงในคนสามารถจำแนกได้เป็นกลุ่มต่างๆ ตามลักษณะการก่อโรค ซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบด้วยเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติในการก่อโรคแตก ต่างกัน สามารถสร้างสารพิษและปัจจัยในการก่อโรคแตกต่างกัน  ซึ่งเชื้อจะก่อโรคได้เมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยการกินอาหาร และน้ำที่ปนเปื้อนเชื้ออีโคไลเหล่านี้เข้าไป ได้แก่
เอนเทอโรท็อกซิเจนิก อีโคไล  (Enterotoxigenic E. coli)  สายพันธุ์นี้ทำให้เกิดอาการท้องร่วงในทารก  ในคนเดินทางไปต่างถิ่น สร้างสารพิษเอนเทอโรท็อกซินที่ทำให้มีอาการท้องร่วงเป็นน้ำซาวข้าวคล้าย อหิวาตกโรค
 เอนเทอโรเพโทเจนิก อีโคไล  (EnteropathogenicE. coli) สายพันธุ์นี้ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงในทารก สร้างสารพิษที่ทำลายเซลล์คล้ายสารพิษชิกาจากเชื้อบิดซิเจลลา (Shiga like toxin)
เอนเทอโรเอกกริเกทีฟ อีโคไล  (Enteroaggregative E. coli)  เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงแบบเรื้อรังในเด็กทารกบางรายมีอาการอุจจาระร่วงนานกว่า 14 วัน และทำให้ถึงตาย
เอนเทอโรอินเวซีบ อีโคไล  (Enteroinvasive E. coli)   สายพันธุ์นี้ทำให้เกิดอาการคล้ายบิดจากเชื้อซิเจลลา แต่มักไม่เข้าสู่กระแสเลือด  
เอนเทอโรฮีโมเรจิกอีโคไล  (Enterohemorrhagic E.coli)สาย พันธุ์นี้ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงอาจมีเลือดปน  อาจมีไข้หรือไม่มีไข้ได้  อาเจียน  สร้างสารพิษที่ทำลายเซลล์ ที่เรียกว่าสารพิษชิกา (Shiga toxin) และสารพิษคล้ายชิกา (Shiga-like toxin) ซึ่งเป็นสารพิษจากเชื้อบิดซิเจลลา (Shigella)
Shiga-toxin producing Escherichia coli (STEC)
                เชื้ออีโคไลที่กำลังระบาดในเยอรมณีในปัจจุบัน จัดอยู่ในกลุ่ม เอนเทอโรฮีโมเรจิกอีโคไล  ซึ่งสร้างสารพิษชิกา เรียกว่า  Shiga-toxin producing Escherichia coli (STEC)เชื้อ อีโคไลกลุ่มนี้ ปัจจุบันพบแล้วมากกว่า 100 โอซีโรไทป์  ซึ่งสายพันธุ์ที่พบระบาดบ่อย คือ ซีโรไทป์ O157:H7  แต่เชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดครั้งนี้ คือ  ซีโรไทป์ O104:H4   ซึ่งมีความรุนแรงมากอาการทีพบในผู้ป่วยได้แก่ อาการปวดท้อง  ถ่ายเหลว  ถ่ายเป็นเลือด  อาจมีไข้แต่ไข้ไม่สูง (ต่ำกว่า 38.3 องศาเซลเซียส)  อาเจียน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรักษาหายได้ใน 5-7 วัน  ผู้ป่วยบางรายเช่นเด็กเล็กและผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรก ซ้อนมีเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย (Haemorrhagic uremic syndrome, HUS) ภายหลังอาการท้องร่วงหนึ่งสัปดาห์ มีอาการอ่อนเพลียมาก ผิวหนังซีดเพราะภาวะเลือดจาง อาจทำให้เสียชีวิตได้ อัตราการตายสูงประมาณร้อยละ  5    ผู้ป่วยบางรายมีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท  เช่น ช็อกหมดสติได้  พบว่าเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะหลายชนิด จึงต้องเลือกใช้ยาที่ยังมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้ออย่างถูกต้อง
กลไกการเกิดโรค
เชื้อสามารถสร้างสารพิษชิกา ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น2 กลุ่ม คือ Shiga toxin 1 (STX1) และ Shiga toxin 2 (STX2)   นอกจากนั้น เชื้อสร้างโปรตีนอินติมิน (Intimin)  ซึ่งเชื้อใช้ในการเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ และสร้างสารพิษชนิดเอนเทอโรฮีโมลัยซิน (enterohaemolysin) ซึ่งมีผลต่อภาวะเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย
การป้องกันการติดเชื้อ
เชื้ออีโคไล ก่อโรคได้โดยการรับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน เชื้อเข้าไป เท่านั้น  และเชื้อนี้ฆ่าได้ด้วยความร้อน  ดังนั้นจึงป้องกันการติดเชื้อได้โดยการรับประทานอาหารปรุงสุก  ส่วนผัก ผลไม้ ต่างๆ ต้องล้าง ด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง  หรือแช่ผัก ผลไม้ในน้ำด่างทับทิม น้ำส้มสายชู
ยาล้างผักแช่ทิ้งไว้ ประมาณ 15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ก็จะสามารถชะล้างเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิดที่ปนเปื้อนได้
                เอนเทอโรฮีโมเรจิกอีโคไลทุกซีโรทัยป์ยังไม่พบระบาดในประเทศไทย แม้ว่าจะสามารถตรวจพบสายพันธุ์ O157:H7  ในผู้ป่วยอาการท้องร่วงได้บ้างก็ตาม  ดังนั้น การดูแลสุขอนามัยโดยเฉพาะการดื่มน้ำ อาหารที่สะอาด ปรุงสุก ตลอดจนอนามัยส่วนบุคคล เช่น ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ ก่อนรับประทานอาหาร ก่อนปรุงอาหารให้ผู้อื่น  สามารถป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อโรคให้ผู้อื่นได้  และที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ  เพราะจนกระทั่งปัจจุบัน ยังไม่สามารถพบแหล่งที่มาของเชื้อ

........  บริโภคผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ไทย  ..........จะปลอดภัยทุกคน
บทความโดย : รศ. ดร. จันทร์เพ็ญ  วิวัฒน์

                         ภาควิชาจุลชีววิทยา
                         คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ข้อจำกัดด้านลิขสิทธ์บทความ :
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายัง
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=52 ด้วย

ปอบิด พิชิตสรรพโรคได้จริงหรือ?

รองศาสตราจารย์ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล
ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


          ถ้ามีใครเดินไปตามร้านขายผัก หรือสมุนไพรในขณะนี้ คงไม่มีใครไม่เห็นสมุนไพรที่เรียกกันว่า ปอบิด วางขายอยู่ทั่วไปพร้อมทั้งมีใบปลิวแนบสรรพคุณมากมาย ตั้งแต่ รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ลดน้ำหนัก แก้เหน็บชา ชาปลายมือปลายเท้า ภูมิแพ้ ไทรอยด์ ปวดข้อ เข่า หลัง รวมถึง ไมเกรน บำรุงตับ ไต และใช้ได้ในโรคเรื้อรังทุกชนิด รวมถึงระบบของสตรี ด้วยวิธีการเตรียมที่ง่าย สะดวก โดยการต้ม และมีรสชาติที่ดื่มง่าย ดังนั้นมีผู้คนจำนวนมากเริ่มสนใจ และใช้มัน และมีหลายคนที่ตั้งคำถามที่ว่ามันใช้ได้จริงหรือ และปลอดภัยหรือไม่
          ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับปอบิดก่อน ปอบิดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helicteres isora L. เป็นพืชในวงศ์ Sterculiaceae มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นมากมาย เช่น ปอกะบิด ปอทับ มะปิด มะบิด (พายัพ) ขี้อ้นใหญ่ ปอลิงไซ (ภาคเหนือ) ลูกบิด (ไทยภาคกลาง) ซ้อ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) เซ้าจี (สระบุรี) เป็นพืชที่ขึ้นเองตามริมป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ที่รกร้าง แม้กระทั่งในบริเวณกรุงเทพมหานคร พบได้ทั่วไปทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และอินเดีย ลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงไม่มากประมาณ 1-2 เมตร มีขนสีน้ำตาล ใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง ขอบใบหยัก เมื่อลูบผิวใบรู้สึกสากคาย ออกดอกปีละครั้ง ช่วงเวลาอาจแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นและภูมิอากาศ ตามบันทึกขององค์การสวนพฤกษศาสตร์ ออกดอกและติดผลประมาณเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม แต่ตัวผู้เขียนเองเคยพบที่สระบุรี ออกดอกช่วงฤดูร้อน ประมาณเดือนเมษายน กลีบดอกสีส้มอิฐ เป็นหลอด เมื่อติดฝัก เป็นฝักยาว 3-4 ซม. บิดเป็นเกลียวคล้ายเชือกขวั้น เมื่อแก่จะแตก มีสีน้ำตาลดำ1

          จากข้อมูลในตำรายาไทย ใช้เปลือกต้นและราก บำรุงธาตุ ผล ใช้แก้บิด (สันนิษฐานว่าตามรูปร่างของผล) แก้ปวดเบ่ง(อันเนื่องมาจากบิด) ท้องเสีย ขับเสมหะ ตำพอกแก้ปวดเคล็ดบวม2,3
          ในประเทศอินเดียใช้ผลแก้ท้องเสียเช่นเดียวกัน และมีการทดลองพบว่าสารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ที่ดีในการยับยั้งเชื้ออีโคไล ที่เป็นเชื้อสาเหตุของอาการท้องเสียทั่วไป และให้ผลดีกับเชื้อ Salmonella typhimurium ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีผลปานกลางต่อเชื้อไข้ไทฟอยด์ (Salmonella typhi)ซึ่งมีอาการไข้ร่วมกับท้องเสียอื่น4 และมีผลยับยั้งการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบ5 ถึงแม้งานวิจัยนี้จะสอดคล้องการใช้ในโรคท้องเสีย ขนาดที่ใช้ในคนก็ยังระบุไม่ได้ชัดเจนนัก
          การศึกษาวิจัยประสิทธิภาพของปอบิดในโรคอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ โรคเบาหวาน พบว่าสารสกัดน้ำจากผลปอบิดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในหนูขาวที่ทำให้เป็นเบา หวาน และป้องกันไม่ให้ระดับไขมันสูงขึ้นซึ่งมักพบตามมาหลังจากการเป็นเบาหวาน ฤทธิ์ของสารสกัดคล้ายกับยาไกลเบนคลาไมด์6 การทดลองในเซลล์เพาะเลี้ยงพบว่าเพิ่มการขนส่งน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อของหนู7 และเพิ่มการขนส่งน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อกระบังลมแต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่ายาเมทฟอร์มิน8 อย่างไรก็ดีการทดลองเหล่านี้แม้จะสรุปได้ว่าสารสกัดน้ำจากผลปอบิด น่าจะมีผลลดน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะระบุขนาดที่ใช้ และยังไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนยารักษาเบาหวานได้จริง จำเป็นต้องมีการทดลองเพิ่มเติมต่อไปทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความเป็นพิษ เนื่องจากปอบิดไม่ใช่พืชอาหาร การทดลองเพื่อหาความเป็นพิษเมื่อใช้ระยะยาวเป็นอีกงานวิจัยที่สำคัญ อนึ่งพบว่าสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีรายงานความเป็นพิษต่อตับและไต หากรูปแบบหรือขนาดที่ใช้ไม่ถูกต้อง ในกรณีที่ยังมีข้อมูลไม่ครบเช่นนี้ สำหรับ ผู้ที่ต้องการเลือกใช้ด้วยตนเอง หรือได้ทดลองใช้แล้ว ให้ตรวจภาวะการทำงานของตับไตอย่างสม่ำเสมอทุก 3 เดือน และห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติ หรือแม้แต่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคตับ หรือโรคไต
          สำหรับโรคอื่นๆที่กล่าวอ้างถึงนั้น ยังไม่พบการวิจัยที่พิสูจน์ฤทธิ์ดังกล่าว อีกทั้งโรคเรื้อรังต่างๆที่กล่าวอ้างนั้น ไม่ได้มีข้อมูลการใช้แผนโบราณสนับสนุน ดังนั้นจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือกใช้
เอกสารอ้างอิง
  1. ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม.http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option /search_detail.asp?Botanic_ID=1187
  2. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/ Accessed on May 14h, 2013.
  3. เสงี่ยม พงษ์บุญรอด. ไม้เทศเมืองไทย. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2508.
  4. Tambekar DH, Khante BS, Panzade BK, Dahikar S, Banginwar Y. Evaluation of phytochemical and antibacterial potential of Helicteres isora L. fruits against enteric bacterial pathogens. Afr J Tradit Complement Altern Med. 2008;5(3): 290-3.
  5. Pohocha N, Grampurohit ND. Antispasmodic activity of the fruits of Helicteres isora Linn. Phytother Res. 2001 Feb;15(1):49-52.
  6. Boopathy Raja A, Elanchezhiyan C, Sethupathy S. Antihyperlipidemic activity of Helicteres isora fruit extract on streptozotocin induced diabetic male Wistar rats. Eur Rev Med Pharmacol Sci. 2010 Mar;14(3):191-6.
  7. R. N. Gupta, Anil Pareek, Manish Suthar, Garvendra S. Rathore, Pawan K. Basniwal, and Deepti Jain. Study of glucose uptake activity of Helicteres isora Linn. fruits in L-6 cell lines. Int J Diabetes Dev Ctries. 2009 Oct-Dec; 29(4): 170–173.
  8. Suthar M, Rathore GS, Pareek A. Antioxidant and Antidiabetic Activity of Helicteres isora (L.) Fruits. Indian J Pharm Sci. 2009 Nov; 71(6): 695-9.
ข้อจำกัดด้านลิขสิทธ์บทความ :
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายัง
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=143 ด้วย

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แก่นตะวันรักษาโรคเบาหวาน,แก่นตะวันรักษาโรคไขมันเส้นเลือด,แก่นตะวันช่วยลดน้ำหนัก,แก่นตะวันช่วยรักษาท้องผูก

ลักษณะของต้น แก่นตะวัน เป็นพืชใกล้ชิดกับทานตะวัน มีดอกสีเหลืองสดใส คล้ายดอกบัวตอง และดอกทานตะวัน แต่มีขนาดเล็กกว่า มีหัวใต้ดินคล้ายกับมันฝรั่งเพื่อเก็บสะสมสารอาหาร ซึ่งหัวของแก่นตะวัน จากการ วิจัยพบว่า เป็นแหล่งสะสมของอินนูลิน (inulin) ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง

ทั้งนี้ อินนูลิน ประกอบด้วยน้ำตาลฟรักโตสมีโมเลกุลยาว จับยึดไขมันในเส้นเลือดที่ เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ไขมัน Cholesterol Triglyceride และ LDL จึงลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ขณะที่แก่นตะวัน ให้แคลอรีต่ำ ไม่เพิ่มน้ำตาลในเลือด จึงลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน

ที่สำคัญ อินนูลิน เป็นสารเยื่อใยอาหาร จะไม่ถูกย่อยในกระเพาะ และลำไส้เล็ก อยู่ในระบบทางเดินอาหารเป็นเวลานาน ทำให้ไม่รู้สึกหิว กินอาหารได้น้อย จึงช่วยลดความอ้วน นอกจากนี้ อินนูลิน จะช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น Coliforms และ E.Coli แต่จะเสริมการทำงานของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายคือ Bifidobacteria และ Lactobacillus จึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้ดีขึ้น

“ข้อมูลเบื้องต้น ที่ได้จากการสอบถามผู้ที่บริโภค หัวแก่นตะวันสด เป็นประจำ พบว่าเมื่อรับประทานหัวแก่นตะวัน จะรู้สึกอิ่ม กินอาหารน้อยลง ระบบขับถ่ายดี ไม่มีปัญหาท้องผูก

และช่วยลดอาการจุกเสียดแน่น และแก้อาการท้องเสียได้ ส่วนผลทางอ้อม ทำให้สุขภาพในช่องปากดี ลดกลิ่นปากจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากและในระบบลำไส้ได้

ผลก็ คือ อุจจาระมีกากมากขึ้น ทำให้ถ่ายสะดวก แก้อากา

รท้องผูก ทำให้กลิ่นเหม็นของอุจจาระไม่มี หากใช้แก่นตะวันเลี้ยงสัตว์ อุจจาระจะไม่มีกลิ่นด้วย และจะช่วยป้องกันมะเร็งของลำไส้ใหญ่

เนื่อง จากร่างกายไม่สามารถย่อยแก่นตะวันไป ใช้ได้ แก่นตะวันจึงเป็นสารเส้นใยอย่างเดียว ไม่ให้แคลอรี กินแล้วไม่อ้วน สารเส้นใยทำให้อยู่ท้อง กินได้น้อย จึงช่วยลดน้ำหนักตัวได้ มีงานวิจัยในหนูพบว่า หากให้หนูกินอาหารผสมอินนูลินนาน 3 สัปดาห์ น้ำหนักตัวจะน้อยกว่าหนูปกติถึง 30 %

และ เพราะความเป็นสารเส้นใยของแก่นตะวัน มันจะช่วยซับน้ำมันและน้ำตาลที่เราอาจจะกินล้นเกินออกทิ้งทางอุจจาระ จึงสามารถป้องกันไขมันในเลือดสูง

มี งานวิจัยของคอเซ ในปี 2000 พบว่าคนที่มีระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอด์ไรด์สูง หากกินอินนูลินเป็นประจำจะทำให้ไขมันในเลือดลดลง

ใน ปี 1983 ฮาตะรายงานว่าคนที่กินอินนูลินจะมีโอกาสเป็นเบาหวานน้อยกว่าคนที่กินน้ำตาล สูงถึง 40 % แสดงว่า หากกินแก่นตะวันเป็นประจำจะช่วยป้องกันเบาหวานได้

สรุปแล้ว แก่นตะวันเป็นผักหัวที่มีสารเส้นใยสูง มีสารกลุ่มที่เรียกว่าพรีไบโอติก จึงช่วยควบคุมน้ำหนักตัว แก้อาการท้องผูก ทำให้สุขภาพลำไส้ใหญ่ดีขึ้น ป้องกันไขมันและน้ำตาลในเลือดสูง รวมทั้งป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วย


แก่นตะวัน เป็นพืชที่เป็นพรีไบโอติก (prebiotics) เป็นอาหารที่มีสารเส้นใยสูง ประกอบไปด้วย อินนูลิน (Inulin) และ ฟรุคโตโอลิโกแซคคาร์ไรด์(FOS) ดังนั้นแก่นตะวัน จึงมีประโยชน์ดังนี้
- ล้างพิษลำไส้ใหญ่ และควบคุมการทำงานของลำไส้ใหญ่ให้เป็นปกติ
- FOSทำให้เกิดกรดไขมันโครงสร้างสั้น ซึ่งให้ผลในการป้องกันท้องผูก / ท้องเสีย ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ และป้องกันกระดูกผุ
- มีบทบาทต่อภูมิต้านทานและป้องกันการติดเชื้อซัลโมเนลล่าและอีโคไล
- ป้องกันพิษของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ซึ่งจะมีผลต่อระบบประสาท
- กระตุ้นการดูดซึมแร่ธาตุหลายชนิด โดยเฉพาะแคลเซียมและธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ทำให้กระดูกแข็งแรงและสามารถฟื้นคืนสภาพจากกระดูกที่ผุแล้วกลับคืนมา
- ช่วยป้องกันอาการภูมิแพ้ และการแพ้อาหาร โดยเฉพาะในเด็ก
อินนูลิน ( Inulin )
อินนูลิน ( Inulin) เป็นคาร์โบไฮเดรต ประเภทฟรุกแทน เป็นใยอาหารธรรมชาติที่ไม่ถูกย่อยในระบบทางเดินอาหาร(กระเพาะอาหาร , ลำไส้เล็ก) ดังนั้น อินนูลิน จะตกไปลำไส้ใหญ่และมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต และการเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ เช่น แลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) บิฟิโดแบคทีเรีย ( Bifidobacteria)
ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ ( FOS )
เป็นน้ำตาล เชิงซ้อน มีฟรุคโตส หลายโมเลกุล เกาะกับกลูโคลส จัดเป็นสารกึ่งแป้งกึ่งน้ำตาล พบได้ในผัก ผลไม้ ตามธรรมชาติ เช่น หอมหัวใหญ่ , กระเทียม , กล้วยหอม และแก่นตะวัน
จากผลการวิ จัย พบว่า ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งจึงไม่ส่งผลข้างเคียงต่อการบริโภค นอกจากคนที่ไม่นิยมรับประทานอาหารประเภทเส้นใย อาจมีการท้องอืด แต่ถ้าลดปริมาณการบริโภคลง ก็จะไม่เกิดอาการดังกล่าว

สำหรับบางท่านที่ยังไม่รู้จักแก่นตะวัน เราได้รวบรวมคำถามที่ผู้ห่วงใยสุขภาพและลูกค้าทุกท่านได้สอบถามเข้ามาที่ บริษัทฯ มาบอกต่อ ได้แก่
คำถาม แก่นตะวัน คืออะไร
คำตอบ แก่นตะวัน คือพืชพรีไบโอติก ที่รู้จักแพร่หลายในแถบอเมริกาเหนือและยุโรป ในชื่อ Jerusalem Artichoke ซึ่ง บริษัท แก่นตะวัน ไบโอเทค ได้ร่วมกับ คณะเกษตร ม.ขอนแก่น วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้ปลูกได้ดีในประเทศไทย

คำถาม พรีไบโอติก คืออะไร
คำตอบ พรีไบโอติกคือ เส้นใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยในระบบทางเดินอาหาร แต่จะตกเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ ส่งผลให้จุลินทรีย์เหล่านั้นเจริญเติบโต เพิ่มปริมาณและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำถาม แก่นตะวันเกี่ยวข้องกับพรีไบโอติกอย่างไร
คำตอบ ส่วนหัวของแก่นตะวันประกอบไปด้วยสารสำคัญ คืออินนูลิน ( Inulin ) , ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ ( FOS ) ซึ่งจัดเป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำ หรือ พรีไบโอติก แก่นตะวันสดจะมีสารทั้ง 2 นี้ 15-20% หากทำให้แห้งจะมีถึง 60-80%
คำถาม การรับประทานพรีไบโอติกจากแก่นตะวัน มีประโยชน์อย่างไร
คำตอบ ส่วนประกอบซึ่งเป็นพรีไบโอติกของแก่นตะวัน จะช่วยให้จุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ ได้แก่ Bifidobacteria และ Lactobacilli เจริญเติบโต ลดจำนวนแบคทีเรียก่อโรคลง จนลำไส้เกิดความสมดุล ต่อเนื่องไปถึงระบบขับถ่าย จึงไม่เกิดการหมักหมม เน่าบูดของกากอาหารที่เหนียวติดที่ผนังลำไส้ใหญ่ จนก่อสารพิษและแก๊สที่เป็นโทษต่อร่างกาย
คำถาม เมื่อทานต่อเนื่องแล้ว จะทราบได้อย่างไร ว่าระบบในร่างกายเกิดความสมดุล
คำตอบ ขั้นแรก สังเกตจากระบบขับถ่าย ว่าเป็นปกติมากขึ้น ไม่มีอาการท้องผูกหรือท้องเสีย นอกนั้นในระยะต่อมา ผิวพรรณจะสดใส ไม่เป็นผดผื่น หรือสิวบ่อยๆ อาการปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกายลดลง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้อาการจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
คำถาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลทานได้หรือไม่ ในเมื่ออินนูลิน และ FOS มีรสหวาน
คำตอบ สารสำคัญเหล่านี้จะไม่ถูกย่อยและดูดซึมในลำไส้เล็ก จึงไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด และพบว่าการบริโภคอาหารที่มีเส้นใยสูง มีผลต่อการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยในการสร้างน้ำดีจากตับได้อีกด้วย

คำถาม นอกจากจะมีผลดีต่อระบบลำไส้และระบบขับถ่ายแล้ว ยังมีประโยชน์ด้านอื่นอีกหรือไม่
คำตอบ การรับประทานแก่นตะวัน ยังช่วยกระตุ้นการดูดซึม แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก และแคลเซียมมากขึ้นถึง 20% รวมถึงเพิ่มการสร้างวิตามินต่างๆ เช่น B1 , B2 , B6 , B12 , Nicotinic acid และ Folic acid และมีบทบาทต่อภูมิต้านทาน ป้องกันการติดเชื้อซัลโมเนลล่าและอีโคไล ทั้งยังป้องกันพิษของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบประสาทได้อีกด้วย

สามารถสั่งซื้อหัวแก่นตะวันหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

0901908527

0807349759




วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กรรณิกา



กรรณิกา

ชื่ออื่น ๆ : กันลิกา

ชื่อสามัญ : Night Jasmine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nyctanthes abor-tristiis Linn

วงศ์ : VERBENACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลาง

ใบ : ใบหนา ค่อนข้างแข็ง ลักษณะโคนใบมน ปลายใบแหลมขนาดใบโตเท่ากับใบมะยม พื้นผิวใบหยาบ สากระคายมือ

ดอก : ดอกออกเป็นช่อ คล้ายกับดอกพริกป่าหรือดอกพุดฝรั่ง ลักษณะของดอก โคนดอกเป็นหลอด ปลายดอกแยกเป็นกลีบประมาณ 5-7 กลีบ มีลักษณะเป็นจานคล้ายรูปกงจักรดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่วนก้านดอกมีสีแดง หรือสีส้ม (แสด)

การขยายพันธุ์ : เป็นพันธุ์ไม้ที่มักปลูกไว้เป็นไม้ประดับตามบ้าน ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง

ส่วนที่ใช้ : ใบ เปลือก ดอก

สรรพคุณ : ใบ ใช้แก้โรคปวดตามข้อ แก้ไข้ เป็นยาระบาย ยาขับน้ำดี ยาขมเจริญอาหาร ยาแก้ตานขโมย วิธีใช้ใบตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำ หรือใช้ผสมกับน้ำตาลดื่ม เปลือก ใช้เปลือกชั้นใน แก้ปวดศีรษะ วิธีใช้ด้วยการต้มเปลือกน้ำดื่มหรือนำไปผสมกับปูนขาวก็จะให้เป็นสีแดง ดอก แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน ราก เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ บำรุงผิวหนังให้สดชื่น แก้ลมและดี แก้ผมหงอก แก้อุจจาระเป็นพรรดึก แก้ไอใช้ต้มหรือฝนรับประทาน

อื่น ๆ :-

ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ที่มักพบอยู่ทั่วไป ในทวีปเอเชียเขตร้อน เช่น ในประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย และในประเทศไทย เป็นต้น

หมายเหตุ : "กรรณิกา(ไทย) . "inseam Plant Names,1948p.352"Night jasmine ", Nyctanthes arbortristis Gerine, 1912,p.190 "Seed-pods and flowers of kanthalika," p.335 "The sorrowful Nyctanthes,or ,mour(n)ing treeyielding a dye and perfume."

กรดน้ำ





กรดน้ำ

ชื่ออื่น ๆ : หนวดแมว ขัดมอนเล็ก(ภาคกลาง) , กัญชาป่า กระต่ายจามใหญ่ มะไฟเดือนห้า (กรุงเทพฯ), หญ้าหัวแมงฮุน หญ้าจาดตู้ด (ภาคเหนือ), ช้างไลดุ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หญ้าพ่ำสามวัน(ฉาน-แม่ฮ่องสอน), เทียนนา(จันทบุรี) ตานซาน(ปัตตานี), หูปลาช่อนตัวผู้(ตราด), ขัดมอนเทศ(ตรัง), แหย่กานฉ่าน(จีนกลาง), เอี่ยกำเช่า(แต้จิ๋ว)

ชื่อสามัญ : Sweet Broomweed, Macao tea

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scoparia dulcis

วงศ์ :SCROPHULARIACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นไร้ขน มีความสูงประมาณ 25-80 ซม.

ใบ : เป็นสีเขียวแก่ ใบเล็ก ขอบของใบจะหยักแบบฟันปลายาวประมาณ 1-2 นิ้ว ใบออกตรงข้ามกันเป็นเกลียวรอบกิ่ง

กิ่ง : กิ่งเล็กเรียว กิ่งแผ่สาขามาก

ดอก : ดอกสีขาว เล็ก กลีบเลี้ยงมีจำนวน 4 กลีบ เกสรตัวเมียมี 1 อัน ต้นหนึ่งจะมีดอกมาก

ส่วนที่ใช้ : ใบ, ลำต้น, ราก

สรรพคุณ :ใบ ใช้ขับระดูขาว แก้ไอ ลดไข้ บำรุงธาตุ แก้ปวดฟัน หลอดลมอักเสบ ลำต้น ลดอาการเป็นหัด คอเจ็บ จุกเสียด อาเจียน แก้ไอ ลดไข้ ท้องเดิน ท้องเสีย ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ แก้ผื่นคัน แก้ขัดเบา แก้ขาบวมจากการเป็นเหน็บชา ลดอาการบวมน้ำจากปัสสาวะ ราก ขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้ปวดศีรษะ เป็นต้น

ตำรับยา

1. เด็กที่เป็นไข้ให้ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 15 กรัม นำมาต้มใส่น้ำ ใส่น้ำตาลพอมีรสชาติ แล้วกรองเอาน้ำกิน

2. เป็นผื่นคัน ให้ใช้ลำต้นที่สดตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาทาที่เป็น

3. ขาบวมเนื่องจากเป็นโรคเหน็บชา ใช้ลำต้นที่สดขนาด 30 กรัม แล้วเอากินทุกเช้า-เย็นหลังอาหาร

4. เป็นหัด ให้ใช้ลำต้นที่สด ต้มแล้วกรองเอาน้ำกินติดต่อกัน 3 วัน

5. ลำไส้อักเสบ ปวดท้อง ปัสสาวะขัด ใช้ลำต้นขนาด 15-30 กรัม ต้มให้เดือดแล้วเอาน้ำกิน

6. มีอาการเจ็บคอ ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 120 กรัมตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำผึ้ง รับประทาน

7. ไอ ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 30-60 กรัม ต้มให้เดือดแล้วเอาน้ำรับประทาน

ข้อมูลทางคลีนิค

ให้ คนป่วยที่เป็นโรคเบาหวานทานอะเมลลิน (amellin)(สารที่สกัดจากลำต้นที่สด ในขนาด 15-20 มิลลิเมตรต่อวัน) ในระยะเวลา 30 วัน จะช่วยลดน้ำตาลในโลหิตและปัสสาวะ ปฏิกิริยาในการลดจะลดลงที่ละน้อยคุณภาพของยาห่างจาก อินซูลิน(insulin) ทั้งนี้เพราะยานี้ไม่ทำให้ปริมาณน้ำตาลในโลหิตลดต่ำกว่าเดิม อะเมลลินจะช่วยลดธาตุเหล็กในเซรุ่ม ช่วยเพิ่มสภาพด่างในร่างกายของคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน เพิ่มระดับในเม็ดโลหิตแดง และอะซีโตนโตนบอดีส์(acetone bodies) ในโลหิต จึงช่วยรักษาคนที่เป็นโรคเบาหวานที่มีอัลบูมิน(albumin) คีโตน(ketone) ในปัสสาวะ และที่มีอาการโลหิตจาง จากนั้นยังช่วยลดไขมันในบาดแผลให้หายเร็ว

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

น้ำ ที่คั้นหรือสารที่ได้จากการสกัดจากราก (สารเคมีในรากมี tannin, d-mannitol, hexacosanol และ B-sitosterol) และจากลำต้น(สารเคมีในลำต้นมี: dulciol, dulcioic acid, iffaiionic acid, sitosterol, betulinic acid, friedilin, amellin, scoparol, benzoxazolinone, glutinol, -amtrin, tritriacontane, dulciolone และอัลคาลอยด็)นั้นเมื่อนำมาทดสอบกับสัตว์มีผลต่อร่างกายของมัน เช่น ลดการเกร็งตัว การเคลื่อนไหวลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ของกระต่าย กระตุ้นหัวใจของคางคก และมีผลเล็กน้อยในการกระตุ้นมดลูกของหนูขาว แต่จะไม่มีผลต่อกล้ามเนื้อลายหน้าท้องคางคก และลำไส้เล็กส่วนปลาย(ileum) ของหนูตะเภา แต่เมื่อนำมาฉีดเข้าในหลอดเลือดของแมวแล้วจะลดความดันเลือดให้ลดลง ลดการหายใจ สารที่สกัดจากแอลกอฮอล์จะไม่มีพิษเลย แต่สารที่สกัดจากน้ำจะมีพิษต่อหนูถีบจักร

หมายเหตุ : ต้นกรดน้ำนี้ มักขึ้นบริเวณข้างทางที่รกร้างทั่วไป .หญ้าหนวดแมว, มะไฟเดือนห้า(ไทย); ขัดมอนเล็ก(ไทย ex Burkill); ผัดปีกแมงวัน (กาญจน); หญ้าจ๊าดตู๊ด(พายัพ)(; หญ้าหัวแมงฮุน (ฮ่องสอน);ข้างไลดุ กะเหรี่ยง-ฮ่องสอน); ปลาช่อนตัวผู้ (ตราด); ขดมอนเทศ(ตรัง). .in Siam. Plant Names,1948,p.432.,Scoparia dulcis Clarke in Schmidt, Flora of Koh Chang VI, 1902,p.346 "In drt open ground mear Lem Dan (nn. 17.157)." Area: A weed, in the tropics of both Hemispheres.

ก้นจ้ำ


ก้นจ้ำ

ชื่ออื่น ๆ : ก้นจ้ำ (นครราชสีมา)

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bidens biternata (lour.) Merr. & Sherffex Sherff

วงศ์ : COMPODITAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 0.5-2 เมตร.ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม บริเวณลำต้น กิ่ง ก้านสาขา มีขนขึ้นประปราย

ใบ : ใบออกเป็นช่อยอดเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ช่อยาวราว 5-14 ซม. ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบยักย่อยคล้ายฟันปลาหลัง และใต้ท้องใบมีขนประปราย หรืออาจเกลี้ยง ก้านใบจะยาวประมาณ 1.5 ซม.

ดอก : ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอก มีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 มม. ปลายกลีบดอกค่อนข้างแหลม หรือเป็นฝอย กลีบดอกยาวประมาณ 5 มม.เป็นรูปท่อ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ

ผล : ผลมีลักษณะยาว แคบ ยาวประมาณ 9-19 มม. ปลายผลมีระยางค์อยู่ 2-5 อันยาวประมาณ 3-4 มม. ผิวนอกขนจะมีผลสั้น ๆ ออก

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย

ส่วนที่ใช้ : ใบ

สรรพคุณ : ใบ ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาน้ำมาใช้ ล้างตา แก้โรคตามัว หรือใช้ตำพอกแผลสด แผลน้ำร้อนลวก หรือแผลไฟไหม้ เป็นต้น

อื่น ๆ : -

ถิ่นที่อยู่ : เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของทวีปอเมริกา

หมายเหตุ :"ก้นจ้ำ (โคราช)." In Siam.Plant Names,1948, p.69.

กกลังกา

http://www.uru.ac.th/~botany/data.php?field=&value=&page=24http://www.satrichai.ac.th/tree/?attachment_id=38http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-6402.htmlhttp://158.108.89.200/agbbc/plant%20for%20Landscape%20WebSite/Webpage/WaterPlants/%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2.htmlhttp://www.ratb.ac.th/webgroup/v-vocational/sariraya/files/4-nam2.html

กกลังกา


ชื่ออื่นๆ : กกต้นกลม, กกขนาก, หญ้าลังดา, กกดอกแดง

ชื่อสามัญ : Umbrella plant

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus alternifolius Linn.

วงศ์ :CYPERACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นออกเป็นกอมีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 100-150 ซม. ลักษณะของลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นกลมมีสีเขียว

ใบ : ใบจะออกแผ่ซ้อน ๆ กัน อยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 18-19 ซม. ใบมีสีเขียว ริมขอบ ใบเรียบใต้ท้องใบสาก ลำต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 18-25 ใบ

ดอก : ดอกออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียว ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม. ดอกแก่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน

การขยายพันธุ์ : กกลังกา เป็นพันธุ์ไม้มักจะขึ้นตามบริเวณที่ ๆ เป็นโคลนหรือน้ำ เช่นข้างแม่น้ำ ลำคลอง สระ หรือบ่อน้ำ มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ

ส่วนที่ใช้ : ลำต้น, ใบ, ดอก, ราก, หัว

สรรพคุณ : ลำต้น ทำลายดีอันผูกไว้ซึ่งพิษ ขับน้ำดีให้ตกลำไส้ ใบ ฆ่าแม่พยาธิ ซึ่งเป็นตัวนำเชื้อโรคทั้งหมด ดอก แก้โรคในปาก เช่นปากเปื่อย หรือปากซีด ราก เป็นยาแก้ช้ำภายใน ขับเลือดเสียออกจากร่ากาย หัว เป็นยาแก้เสมหะเฟื่อง แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ และ ทำให้อยากอาหาร

หมายเหตุ : "กกลังกา* (ไทย). " in Siam.Plant.Names,1948 p.154
"Umnbrella plant.", "กกลังกา.*"Winit,J.S.S.N.H.S.,IX,3,1934,P.27 "Umbrella plant."