สฟผฟกฟ

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กรรณิกา



กรรณิกา

ชื่ออื่น ๆ : กันลิกา

ชื่อสามัญ : Night Jasmine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nyctanthes abor-tristiis Linn

วงศ์ : VERBENACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลาง

ใบ : ใบหนา ค่อนข้างแข็ง ลักษณะโคนใบมน ปลายใบแหลมขนาดใบโตเท่ากับใบมะยม พื้นผิวใบหยาบ สากระคายมือ

ดอก : ดอกออกเป็นช่อ คล้ายกับดอกพริกป่าหรือดอกพุดฝรั่ง ลักษณะของดอก โคนดอกเป็นหลอด ปลายดอกแยกเป็นกลีบประมาณ 5-7 กลีบ มีลักษณะเป็นจานคล้ายรูปกงจักรดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่วนก้านดอกมีสีแดง หรือสีส้ม (แสด)

การขยายพันธุ์ : เป็นพันธุ์ไม้ที่มักปลูกไว้เป็นไม้ประดับตามบ้าน ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง

ส่วนที่ใช้ : ใบ เปลือก ดอก

สรรพคุณ : ใบ ใช้แก้โรคปวดตามข้อ แก้ไข้ เป็นยาระบาย ยาขับน้ำดี ยาขมเจริญอาหาร ยาแก้ตานขโมย วิธีใช้ใบตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำ หรือใช้ผสมกับน้ำตาลดื่ม เปลือก ใช้เปลือกชั้นใน แก้ปวดศีรษะ วิธีใช้ด้วยการต้มเปลือกน้ำดื่มหรือนำไปผสมกับปูนขาวก็จะให้เป็นสีแดง ดอก แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน ราก เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ บำรุงผิวหนังให้สดชื่น แก้ลมและดี แก้ผมหงอก แก้อุจจาระเป็นพรรดึก แก้ไอใช้ต้มหรือฝนรับประทาน

อื่น ๆ :-

ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ที่มักพบอยู่ทั่วไป ในทวีปเอเชียเขตร้อน เช่น ในประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย และในประเทศไทย เป็นต้น

หมายเหตุ : "กรรณิกา(ไทย) . "inseam Plant Names,1948p.352"Night jasmine ", Nyctanthes arbortristis Gerine, 1912,p.190 "Seed-pods and flowers of kanthalika," p.335 "The sorrowful Nyctanthes,or ,mour(n)ing treeyielding a dye and perfume."

กรดน้ำ





กรดน้ำ

ชื่ออื่น ๆ : หนวดแมว ขัดมอนเล็ก(ภาคกลาง) , กัญชาป่า กระต่ายจามใหญ่ มะไฟเดือนห้า (กรุงเทพฯ), หญ้าหัวแมงฮุน หญ้าจาดตู้ด (ภาคเหนือ), ช้างไลดุ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หญ้าพ่ำสามวัน(ฉาน-แม่ฮ่องสอน), เทียนนา(จันทบุรี) ตานซาน(ปัตตานี), หูปลาช่อนตัวผู้(ตราด), ขัดมอนเทศ(ตรัง), แหย่กานฉ่าน(จีนกลาง), เอี่ยกำเช่า(แต้จิ๋ว)

ชื่อสามัญ : Sweet Broomweed, Macao tea

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scoparia dulcis

วงศ์ :SCROPHULARIACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นไร้ขน มีความสูงประมาณ 25-80 ซม.

ใบ : เป็นสีเขียวแก่ ใบเล็ก ขอบของใบจะหยักแบบฟันปลายาวประมาณ 1-2 นิ้ว ใบออกตรงข้ามกันเป็นเกลียวรอบกิ่ง

กิ่ง : กิ่งเล็กเรียว กิ่งแผ่สาขามาก

ดอก : ดอกสีขาว เล็ก กลีบเลี้ยงมีจำนวน 4 กลีบ เกสรตัวเมียมี 1 อัน ต้นหนึ่งจะมีดอกมาก

ส่วนที่ใช้ : ใบ, ลำต้น, ราก

สรรพคุณ :ใบ ใช้ขับระดูขาว แก้ไอ ลดไข้ บำรุงธาตุ แก้ปวดฟัน หลอดลมอักเสบ ลำต้น ลดอาการเป็นหัด คอเจ็บ จุกเสียด อาเจียน แก้ไอ ลดไข้ ท้องเดิน ท้องเสีย ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ แก้ผื่นคัน แก้ขัดเบา แก้ขาบวมจากการเป็นเหน็บชา ลดอาการบวมน้ำจากปัสสาวะ ราก ขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้ปวดศีรษะ เป็นต้น

ตำรับยา

1. เด็กที่เป็นไข้ให้ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 15 กรัม นำมาต้มใส่น้ำ ใส่น้ำตาลพอมีรสชาติ แล้วกรองเอาน้ำกิน

2. เป็นผื่นคัน ให้ใช้ลำต้นที่สดตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาทาที่เป็น

3. ขาบวมเนื่องจากเป็นโรคเหน็บชา ใช้ลำต้นที่สดขนาด 30 กรัม แล้วเอากินทุกเช้า-เย็นหลังอาหาร

4. เป็นหัด ให้ใช้ลำต้นที่สด ต้มแล้วกรองเอาน้ำกินติดต่อกัน 3 วัน

5. ลำไส้อักเสบ ปวดท้อง ปัสสาวะขัด ใช้ลำต้นขนาด 15-30 กรัม ต้มให้เดือดแล้วเอาน้ำกิน

6. มีอาการเจ็บคอ ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 120 กรัมตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำผึ้ง รับประทาน

7. ไอ ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 30-60 กรัม ต้มให้เดือดแล้วเอาน้ำรับประทาน

ข้อมูลทางคลีนิค

ให้ คนป่วยที่เป็นโรคเบาหวานทานอะเมลลิน (amellin)(สารที่สกัดจากลำต้นที่สด ในขนาด 15-20 มิลลิเมตรต่อวัน) ในระยะเวลา 30 วัน จะช่วยลดน้ำตาลในโลหิตและปัสสาวะ ปฏิกิริยาในการลดจะลดลงที่ละน้อยคุณภาพของยาห่างจาก อินซูลิน(insulin) ทั้งนี้เพราะยานี้ไม่ทำให้ปริมาณน้ำตาลในโลหิตลดต่ำกว่าเดิม อะเมลลินจะช่วยลดธาตุเหล็กในเซรุ่ม ช่วยเพิ่มสภาพด่างในร่างกายของคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน เพิ่มระดับในเม็ดโลหิตแดง และอะซีโตนโตนบอดีส์(acetone bodies) ในโลหิต จึงช่วยรักษาคนที่เป็นโรคเบาหวานที่มีอัลบูมิน(albumin) คีโตน(ketone) ในปัสสาวะ และที่มีอาการโลหิตจาง จากนั้นยังช่วยลดไขมันในบาดแผลให้หายเร็ว

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

น้ำ ที่คั้นหรือสารที่ได้จากการสกัดจากราก (สารเคมีในรากมี tannin, d-mannitol, hexacosanol และ B-sitosterol) และจากลำต้น(สารเคมีในลำต้นมี: dulciol, dulcioic acid, iffaiionic acid, sitosterol, betulinic acid, friedilin, amellin, scoparol, benzoxazolinone, glutinol, -amtrin, tritriacontane, dulciolone และอัลคาลอยด็)นั้นเมื่อนำมาทดสอบกับสัตว์มีผลต่อร่างกายของมัน เช่น ลดการเกร็งตัว การเคลื่อนไหวลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ของกระต่าย กระตุ้นหัวใจของคางคก และมีผลเล็กน้อยในการกระตุ้นมดลูกของหนูขาว แต่จะไม่มีผลต่อกล้ามเนื้อลายหน้าท้องคางคก และลำไส้เล็กส่วนปลาย(ileum) ของหนูตะเภา แต่เมื่อนำมาฉีดเข้าในหลอดเลือดของแมวแล้วจะลดความดันเลือดให้ลดลง ลดการหายใจ สารที่สกัดจากแอลกอฮอล์จะไม่มีพิษเลย แต่สารที่สกัดจากน้ำจะมีพิษต่อหนูถีบจักร

หมายเหตุ : ต้นกรดน้ำนี้ มักขึ้นบริเวณข้างทางที่รกร้างทั่วไป .หญ้าหนวดแมว, มะไฟเดือนห้า(ไทย); ขัดมอนเล็ก(ไทย ex Burkill); ผัดปีกแมงวัน (กาญจน); หญ้าจ๊าดตู๊ด(พายัพ)(; หญ้าหัวแมงฮุน (ฮ่องสอน);ข้างไลดุ กะเหรี่ยง-ฮ่องสอน); ปลาช่อนตัวผู้ (ตราด); ขดมอนเทศ(ตรัง). .in Siam. Plant Names,1948,p.432.,Scoparia dulcis Clarke in Schmidt, Flora of Koh Chang VI, 1902,p.346 "In drt open ground mear Lem Dan (nn. 17.157)." Area: A weed, in the tropics of both Hemispheres.

ก้นจ้ำ


ก้นจ้ำ

ชื่ออื่น ๆ : ก้นจ้ำ (นครราชสีมา)

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bidens biternata (lour.) Merr. & Sherffex Sherff

วงศ์ : COMPODITAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 0.5-2 เมตร.ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม บริเวณลำต้น กิ่ง ก้านสาขา มีขนขึ้นประปราย

ใบ : ใบออกเป็นช่อยอดเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ช่อยาวราว 5-14 ซม. ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบยักย่อยคล้ายฟันปลาหลัง และใต้ท้องใบมีขนประปราย หรืออาจเกลี้ยง ก้านใบจะยาวประมาณ 1.5 ซม.

ดอก : ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอก มีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 มม. ปลายกลีบดอกค่อนข้างแหลม หรือเป็นฝอย กลีบดอกยาวประมาณ 5 มม.เป็นรูปท่อ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ

ผล : ผลมีลักษณะยาว แคบ ยาวประมาณ 9-19 มม. ปลายผลมีระยางค์อยู่ 2-5 อันยาวประมาณ 3-4 มม. ผิวนอกขนจะมีผลสั้น ๆ ออก

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย

ส่วนที่ใช้ : ใบ

สรรพคุณ : ใบ ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาน้ำมาใช้ ล้างตา แก้โรคตามัว หรือใช้ตำพอกแผลสด แผลน้ำร้อนลวก หรือแผลไฟไหม้ เป็นต้น

อื่น ๆ : -

ถิ่นที่อยู่ : เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของทวีปอเมริกา

หมายเหตุ :"ก้นจ้ำ (โคราช)." In Siam.Plant Names,1948, p.69.

กกลังกา

http://www.uru.ac.th/~botany/data.php?field=&value=&page=24http://www.satrichai.ac.th/tree/?attachment_id=38http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-6402.htmlhttp://158.108.89.200/agbbc/plant%20for%20Landscape%20WebSite/Webpage/WaterPlants/%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2.htmlhttp://www.ratb.ac.th/webgroup/v-vocational/sariraya/files/4-nam2.html

กกลังกา


ชื่ออื่นๆ : กกต้นกลม, กกขนาก, หญ้าลังดา, กกดอกแดง

ชื่อสามัญ : Umbrella plant

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus alternifolius Linn.

วงศ์ :CYPERACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นออกเป็นกอมีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 100-150 ซม. ลักษณะของลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นกลมมีสีเขียว

ใบ : ใบจะออกแผ่ซ้อน ๆ กัน อยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 18-19 ซม. ใบมีสีเขียว ริมขอบ ใบเรียบใต้ท้องใบสาก ลำต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 18-25 ใบ

ดอก : ดอกออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียว ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม. ดอกแก่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน

การขยายพันธุ์ : กกลังกา เป็นพันธุ์ไม้มักจะขึ้นตามบริเวณที่ ๆ เป็นโคลนหรือน้ำ เช่นข้างแม่น้ำ ลำคลอง สระ หรือบ่อน้ำ มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ

ส่วนที่ใช้ : ลำต้น, ใบ, ดอก, ราก, หัว

สรรพคุณ : ลำต้น ทำลายดีอันผูกไว้ซึ่งพิษ ขับน้ำดีให้ตกลำไส้ ใบ ฆ่าแม่พยาธิ ซึ่งเป็นตัวนำเชื้อโรคทั้งหมด ดอก แก้โรคในปาก เช่นปากเปื่อย หรือปากซีด ราก เป็นยาแก้ช้ำภายใน ขับเลือดเสียออกจากร่ากาย หัว เป็นยาแก้เสมหะเฟื่อง แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ และ ทำให้อยากอาหาร

หมายเหตุ : "กกลังกา* (ไทย). " in Siam.Plant.Names,1948 p.154
"Umnbrella plant.", "กกลังกา.*"Winit,J.S.S.N.H.S.,IX,3,1934,P.27 "Umbrella plant."

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กระทงลาย

ชื่ออื่นๆ : กระทุงลาย โชด (ภาคกลาง); มะแตก-เครือ มักแตก. มะแตก (ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ). นางแตก (นครราชสีมา)
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Celastrus paniculatus willd.
วงศ์ : CELASTRACEAE
ลักษณะทั่วไป :

ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มเลื้อย มีความสูงประมาณ ๒-๑๐ เมตร ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง

ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือรูปรี โคนใบสอบเข้าหากันมน ส่วนปลายใบแหลม หรือมน ริมขอบใบหยัก ละเอียดเป็นฟันเลื่อย หลังใบมีพื้นผินเรียบ ใต้ท้องใบจะมีเส้นใบมี ๕-๘ คู่ เห็นได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ ๑-๒.๕ นิ้ว ยาวประมาณ ๒-๖ นิ้ว มีก้านใบยาวประมาณ ๐.๕-๑.๕ ซม.

ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ ๔-๘ นิ้ว ซึ่งออกอยู่บริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกมีทั้งดอกเพศผู้และเมียซึ่งมักจะแยกกันคนละต้น ลักษณะของดอกเพศผู้ กลีบรองกลีบดอกมี ๕ กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉก รูปค่อนข้างกลม มีขนขึ้นประปราย ฐานดอกเป็นรูปถ้วยนูน ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้มี ๕ อัน ยาวราว ๒-๒.๕ มม. สำหรับดอกเพศเมียจะมีลักษณะฐานดอกและกลีบรองกลีบดอก จะเหมือนกับดอกเพศผู้ แต่ตรงกลางดอกเป็นเกสรตัวเมียยาวราว ๒-๒.๕ มม. ยอดเกสรมี ๓ พู

เกสร :

เมล็ด : เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีแดง เมล็ดเป็นรูปรี มีความกว้างราว ๒-๓ มม. ยาวราว ๓.๕-๕ มม.

ผล : ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ปลายผลมียอดเกสรตัวเมียติดอยู่ ผลมีขนาดกว้างประมาณ ๕-๘ มม. ยาวประมาณ ๕-๑๐ มม. แต่พอผลแก่เต็มที่เกสรอยู่ปลายผลก็จะหลุดออก ผลแตกออกเป็นห้อง ๓ ห้อง

ฝัก :

เปลือก เถา :

หน่อ :
การขยายพันธุ์ : กระทงลาย เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ เปลือก เมล็ด ผล
สรรพคุณ :
  • ลำต้น ใช้เป็นยาแก้วัณโรค แก้ไข้มาลาเรีย
  • ใบ ใช้เป็นยาแก้โรคบิด กระตุ้นประสาท และใช้เป็นถอนพิษฝิ่น วิธีใช้ด้วยการต้ม หรือคั้นเอาน้ำกิน
  • เปลือก ใช้เป็นยาทำแห้ง
  • เมล็ด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอก หรือกิน เป็นยาแก้โรคอัมพาต และโรคปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ยาแก้ไข้ เมื่อคั้นเอาน้ำมันจากเมล็ด ใช้เป็นยาแก้โรคเหน็บชา ขับเหงื่อ เป็นต้น
  • ผล ใช้เป็นยาแก้ลมจุกเสียด บำรุงเลือด และใช้เป็นยาถอนพิษงู เป็นต้น
ข้อห้ามใช้ :
อื่นๆ :
ถิ่นที่อยู่ : กระทงลาย เป็นพรรณไม้ที่มักพบบริเวณป่าดิบ ป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป
ส่วนประกอบ ทางยา :
ตำรับยา :
ข้อมูลทาง เภสัชวิทยา :
ข้อมูลทาง คลีนิค :
สารเคมีที่พบ :
หมายเหตุ : "กะทงลาย โชต กะทุงลาย (ไทย); มะแตะเครือ (พายัพ-อีสาน) ; เคือมักแตก (อุดร); นางแตก (โคราช). "in Siam.Plant Names,1948,p.107., Celasturs paniculata Craib,Fl. Siam, Dicot.,1912,p.59 "Chiengmai, Doi Sootep,320 m., (Kerr,586); Phre,120-180 m.,(L.Vanpruk,158)." Celastrus paniculatas Vanpruk1923,p.99 "โชต";p.206 "มะแตก (ล)." Celastrus paniculata Burkill,I,1935,p.505 "In Java, Sila; in Siam, Katong lai,"

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ๑๘ มิ.ย. ๔๘

กระดังงาสงขลา

Kradangnga.jpg

กระดังงาสงขลา เป็นกระดังงาชนิดหนึ่งถิ่นกำเนิดที่สงขลา ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cananga fruticosa มีชื่อสามัญอื่นคือ Dwarf Ylang-Ylang

ลักษณะเฉพาะ

  • ลักษณะ:ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรี กว้าง 6-8 เซนติเมตร ยาว 12-14 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย ดอก สีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม ออกเดี่ยว หรือเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเรียวยาว บิดเป็นเกลียว เรียงหลายชั้นๆ ละ 3 กลีบ ปลายกรีบโค้งงอ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีจำนวนมาก
  • ใบ: ปลายแหลม โคนมน ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย
  • ดอก: สีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม ออกเดี่ยว หรือเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเรียวยาว บิดเป็นเกลียว เรียงหลายชั้นๆ ละ 3 กลีบ ปลายกรีบโค้งงอ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีจำนวนมาก ออกดอกเกือบตลอดปี
  • การดูแล:
  • การขยายพันธุ์: ตอนกิ่ง
  • ประโยชน์:ปลูกเป็นไม้ประดับ มีดอกดกสวยงาม เนื้อไม้และใบ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ดอก ปรุงเป็นยาหอม สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน ทำบุหงา อบรํ่า ทำนํ้าหอม บำรุงหัวใจ

กระดังงา

กระดังงาไทย



ชื่ออื่นๆ : กระดังงาใบใหญ่ กระดังงา
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Cananga odorata Lam. Hook. f. & Thomson var. odorata
วงศ์ : ANNONACEAE

กระดังงาไทยเป็นไม้ต้น สูง 10-20 เมตร ต้น เปลา ตรง เปลือกสีเทาเกลี้ยง มีรอยแผลใบขนาดใหญ่ทั่วไป
ใบ เดี่ยว เรียงสลับ ทรงรี โคนใบมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบแหลม
ดอกช่อ สีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม
ผล กลุ่ม รูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ
เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ประโยชน์ รักษามะเร็งเพลิง เนื้อไม้ รักษาโรคปัสสาวะพิการ ใบรักษาโรคผิวหนัง แก้คัน ดอก มีน้ำมันหอม ใช้เข้าเครื่องหอมทุกชนิด แก้ลมวิงเวียน แก้ไข้ บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ นับเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง มีกระดังงาทางภาคใต้ตอนล่างของไทย พบในป่าดิบชื้นและมีปลูกทั่วประเทศ ต่างประเทศพบที่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย

กระชาย

ภาพ:Krachai_1.jpg



ลักษณะของพืช

กระชายเป็นไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี สูงราว 1 - 2 ศอก

มีลำต้นใต้ดินเรียกว่า " เหง้า " รูปทรงกระบอกปลายแหลม

จำนวนมากคล้ายกระสวยรวมติดอยู่เป็นกระจุก เนื้อในสีเหลือง

มีกลิ่นหอมเฉพาะ เนื้อในละเอียด

กาบใบเดี่ยว กาบใบสีแดงเรื่อ ใบรูปขอบขนานรูปไข่ กว้าง 4.5 - 10 ซ.ม. ด้านในของใบมีร่องลึก

ใบใหญ่ยาวรีปลายแหลม ดอกเป็นช่อ ดอกแทรกระหว่างกาบใบที่โคนต้น

การปลูก

ใช้เหง้าหรือหัวกระชายปลูก กระชายขอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบดินแฉะ เวลาปลูกควรยก

ร่องหรือปลูกใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่โดยนำหัวกระชายที่เตรียมไว้ตัดใบทิ้งและเหลือรากไว้เพียง
2 ราก ปลูกลงหลุมและกลบด้วยปุ๋ยคอกพอมิดต้นคลุมด้วยฟาง รดน้ำให้ชุ่ม ฤดูที่ปลูก คือ ปลายฤดู

แล้ง ความชุ่มชื้นต้องการแค่น้ำฝนก็เพียงพอ

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าใต้ดิน

รสและสรรพคุณยาไทย

รสเผ็ดร้อยขม แก้ปวดมวนในท้องแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และบำรุงกำลัง

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

ในเหง้ากระชายมีสารที่สำคัญ คือ น้ำมันหอมระเหย แต่พบว่ามีจำนวนน้อย มีรายงานว่าได้

ปริมาณน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.08 % ในน้ำมันหอมระเหยประกอยด้วยสารเคมีหลายชนิด

เช่น 1.8 - Cineol, Boesenbergin A,dl - Pinostrobin, Camphor เป็นต้น

การทดลองพบว่า สารจากเหง้ากระชายมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลิน -

ทรีย์ ได้ผลกับเชื้อแบคทีเรียดีกว่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียที่ได้ผลคือ Bacillus subtilis แบคทีเรีย

ในลำไส้ และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ในการขับลม ช่วยให้กระเพาะ

และลำไส้เคลื่อนไหว ช่วยให้เจริญอาหารด้วย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ศึกษาและรายงานว่า

ไม่มีพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักร

วิธีใช้

เหง้ากระชายรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียดโดยนำเหง้าและรากกระชายประมาณ
ครึ่งกำมือ ( สด หนัก 5 - 10 กรัม แห้งหนัก 3 - 5 กรัม ) ทุบพอแหลก ต้มน้ำเอาดื่มเมื่อมีอาการ

หรือปรุงเป็นอาหารรับประทาน


กระชายมีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก

1. แก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟ ตำให้ละเอียด ผสมน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม

2. รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน

3. ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานก่อนอาหารเย็น


ภาพ:Krachai_6.jpg


4. ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ นำกระชายแห้งบดให้เป็นผงละลายกับน้ำร้อน

5. นำรากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ ตำผสมกัน ใช้ฉีดบริเวณที่มีแมลงรบกวน

6. บำบัดโรคกระเพาะ กินรากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ 3 มื้อ ก่อนอาหาร 15 นาที สัก 3 วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ 3 ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ 2 ข้อนิ้วก้อยจนครบ 2 สัปดาห์

7.บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก 2 แง่งกับน้ำสะอาด 1 แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ 3 เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินไปให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ 1 วัน

8. แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ในโถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนกาแฟเล็ก (เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ 3 มื้อก่อนอาหาร 15 นาที สัก 7 วัน


ภาพ:Krachai_7.jpg


9. ฤทธิ์แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจากเชื้อรา นำรากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชายใช้น้ำมัน 3 เท่าของปริมาณกระชาย หุง (คนไปคนมาอย่าให้ไหม้) ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว 15-20 นาที กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน

10. แก้คันศีรษะจากเชื้อรา ให้เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรน้ำมันจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในสูตร ประหยัดเงินและได้ภูมิใจกับภูมิปัญญาไทย หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผม ให้เพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก 1 เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก 5 นาที นวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก

11. ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ 3 ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ 1 แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ 2 แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2

กระแจะ



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hesperethusa crenulata Roem.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่นๆ : ขะแจะ ตุมตัง พญายา พินิยา
ลักษณะ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร กิ่งก้านมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปรีแกมไข่กลับ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 2-7 ซม. มีต่อมน้ำมันกระจายในเนื้อใบทั่วไป สังเกตได้ชัดเจน ก้านใบแผ่เป็นปีก ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว มี 5 กลีบ ดอกย่อยขนาด 1 ซม ผลรูปทรงกลม เมื่อแก่มีสีดำ ผิวมัน ขนาด 0.3-0.5 ซม.

การกระจายพันธุ์
และนิเ้วศวิทยา พบ ตั้งแต่พม่า จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบตามป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้ง ใกล้ริมลำธาร ที่ความสูง 100-400 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ประโยชน์
กิ่งอ่อนบดละเอียด ผสมทำธูปหรือแป้งมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ใบใช้แก้ลมบ้าหมู รากเป็นยาถ่าย
ข้อมูลจากเอกสาร : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2

กรรณิการ์



  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Nyctanthes arbortristis Linn.
  • ชื่อสามัญ: กรรณิการ์ (อังกฤษ: Night blooming jasmin - มะลิบานราตรี)
  • ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ: กณิการ์ กรณิการ์
  • ประเภท: ไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง
  • ลักษณะ:
    • ต้น: สูงประมาณ 3 - 4 เมตร ตามลำต้นจะมีรอยเป็นเส้นคาดรอยต้นเป็นช่วงๆ ไปตามข้อต้น เปลือกของลำต้นนั้นมีสีขาว ลักษณะของลำต้นและกิ่งก้านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นแขนงและกิ่งอ่อนจะเป็นสี่ เหลี่ยม บริเวณแนวสันเหลี่ยมของกิ่งหรือลำต้นมีตุ่มเล็ก ๆ ประเป็นแนวอยู่ด้วย
    • ใบ: เป็นไม้ใบเดี่ยวแต่ออกเป็นคู่ๆ สลับกันไปตามข้อของต้น มีรูปมนรี ปลายใบแหลม มีสีเขียวและมีขนอ่อนๆ เป็นละอองปกคลุมอยู่ทั่วใบ มีลักษณะสากคายมือ
    • ดอก: ดอกสีขาว ออกเป็นช่อดอกเล็ก ๆ กระจายที่ปลายกิ่ง ประมาณช่อละ 5 - 8 ดอก แต่ละดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกจะบิดเวียนไปทางขวาคล้ายกังหัน วงในดอกเป็นสีแสด หลอดดอกเป็นสีแสด เกสรเป็นเส้นเล็กละเอียดซ้อนอยู่ในหลอดดอก ขนาดของดอกบานเต็มที่ประมาณ 1.50 - 2 เซนติเมตร หลอดดอกยาว 1.50 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 - 8 แฉก ก้านช่อดอกมีใบประดับเล็กๆ 1 คู่ ดอกของกรรณิการ์มีกลิ่นหอมแรง บานกลางคืน ออกดอกตลอดปี
    • ผล: เป็นแผ่นแบนๆ ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด
  • การขยายพันธุ์: โดยการตอน หรือปักชำกิ่ง
  • การดูแล: ขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่ต้องการความชุ่มชื้น และปลูกที่กลางแจ้ง
  • ประโยชน์: ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้หลายชนิด ก้านดอกสามารถนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าจีวรพระ หรือสีทำขนม